เตรียมรับมือผดผื่นคัน จากเหงื่อของคุณลูกในฤดูร้อนกันเถอะ

4981 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เตรียมรับมือผดผื่นคัน จากเหงื่อของคุณลูกในฤดูร้อนกันเถอะ

มาเตรียมรับมือ ผดผื่นคัน จากเหงื่อของลูกน้อยในฤดูร้อนกันเถอะ! อากาศยิ่งร้อนยิ่งส่งผลต่ออุณหภูมิภายในร่างกายให้เพิ่มมาก บวกกับกิจกรรมที่เด็ก ๆ เล่นสนุกกันอย่างไม่กลัวแดด ไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อยกลายเป็นการกระตุ้นเหงื่อชั้นดี ซึ่งเหงื่อเป็นถือเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคผิวหนังหลายโรคโดยเฉพาะกับเด็กเล็กและทารก เนื่องจากโครงสร้างผิวของเด็กยังมีความอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันน้อยกว่าผู้ใหญ่มาก อีกทั้งการควบคุมอุณหภูมิภายในผิวเด็กยังไม่คงที่ จึงทำให้เหงื่อส่งผลต่อผิวลูกน้อย
มากกว่าช่วงวัยอื่น ๆ

โรคผิวหนังที่พบเจอได้ง่ายที่สุดในช่วงหน้าร้อน หนีไม่พ้นปัญหาผดผื่นคัน หรือ ผดร้อน มีโอกาสเป็นได้ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่บางคนโดยเฉพาะผู้สูงอายุ คนเจ้าเนื้อ คนที่มีผิวแพ้ง่าย หรือผู้ที่ชอบใส่เสื้อผ้ารัดแน่น ๆ ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด

ผดร้อนคืออะไร?
ผดร้อนคือผดผื่นที่มีลักษณะเป็นตุ่มใสเม็ดเล็ก ๆ มักพบในบริเวณใบหน้า ข้อพับ คอ หลัง หน้าอก ต้นขา และผิวใต้ร่มผ้า สาเหตุสำคัญเกิดขึ้นจากเหงื่อ เมื่อร่างกายอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนหรือชื้นโดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน ร่างกายมีการระบายความร้อนออกมาเป็นเหงื่อจำนวนมาก ส่งผลให้ต่อมเหงื่อใต้ผิวหนังอุดตันสะสมอยู่บริเวณชั้นผิวหนังจนอักเสบจนกลายเป็นตุ่มน้ำ หรือผดร้อนในที่สุด

ผดร้อนมีหลายแบบ

  • ลักษณะเป็นตุ่มใส : ไม่มีอาการแสบคัน ขนาดประมาณ 1 – 2 มิลลิเมตรแต่มีโอกาสแตกกลายเป็นแผลตกสะเก็ด สามารถพบได้ทั้งกับทารก และผู้ใหญ่ที่มีผิวบอบบาง
  • ลักษณะเป็นผดแดง : มีอาการคัน แสบ ระคายเคือง ผดร้อนประเภทนี้มักเกิดในผิวบริเวณที่มีมีการเสียดสี หรือมีโอกาสอับชื้นง่าย เช่น หน้าอก คอ หลัง ข้อพับต่าง ๆ
  • ลักษณะเป็นตุ่มเนื้อ : ไม่มีอาการคัน แสบ ขนาดประมาณ 1 – 3 มิลลิเมตร มักเกิดทันทีภายใน 2 – 3 ชั่วโมงหลังสัมผัสแดด
  • ลักษณะเป็นตุ่มสีขุ่น เกิดจากการอักเสบ ติดเชื้อ


หากเกิดผดร้อน ต้องทำอย่างไร?

การรักษาผดร้อน สำหรับตัวผู้ใหญ่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยตัวเองง่าย ๆ แต่กับทารกและเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถดูแลตัวเองได้ คุณแม่จึงมีส่วนสำคัญในการรักษาผดร้อนของลูกน้อย ด้วยวิธีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อน ชื้น โดนแดด หรือเสี่ยงต่อการเกิดเหงื่อเยอะ ๆ
  • ประคบเย็นบริเวณที่ลูกน้อยเกิดผดร้อน เพื่อลดความร้อนในผิว
  • ให้ลูกใส่เสื้อผ้าที่หลวม โปร่งสบาย และห้ามใช้พลาสเตอร์ปิดแผล ป้องกันความอับชื้นที่เกิดขึ้นกับผิว
  • ใช้พัดลมเป่าตัวลูกน้อยหลังอาบน้ำแทนการใชัผ้าขนหนูเช็ดตัว เพื่อลดปัญหาผิวหนังโดนเสียดสี หากกลัวลูกน้อยป่วย ให้ใช้ผ้าขนหนูที่มีความนุ่มมากเป็นพิเศษซับตัวแทนการเช็ดถูผิวลูกน้อย
  • ดูแลความสะอาดของเล็บลูกน้อย ตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ ป้องกันลูกน้อยเกาจนอาจเกิดแผลลุกลาม


ผดร้อน รุนแรงแค่ไหนจึงต้องพบแพทย์

ถึงแม้ว่าผดร้อนในเด็กจะเป็นปัญหาที่คุณแม่สามารถรักษาให้หายด้วยตัวเองได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสลุกลามจนกลายเป็นเรื่องใหญ่ หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรเข้าแพทย์โดยทันที ไม่ว่าจะเด็กเล็ก ทารก หรือผู้ใหญ่ก็ตาม

  • ผดไม่หาย มีอาการคัน แสบร้อนต่อเนื่อง 2 – 3 วัน
  • ลักษณะของผดผื่นร้อนเปลี่ยนแปลงไป เช่น จากเดิมเป็นแค่ตุ่มใสเล็ก ๆ เริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดง หรือมีริ้วขึ้น เป็นต้น
  • ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ คอ ขาหนีบบวม
  • มีอาการเจ็บปวด แสบ คันเพิ่มมากขึ้น
  • มีไข้ หรือตุ่มจากผดร้อนเริ่มอักเสบ


ถึงแม้ว่าผดร้อนจะเป็นปัญหาผิวที่สามารถเกิดขึ้นได้กับลูกน้อยและผู้ใหญ่ ทั้งจากโครงสร้างผิวที่แตกต่างกันแต่ละบุคคล หรือสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยก็ตาม คุณสามารถป้องกันผิวให้ลูกน้อยได้ด้วยการปรับสมดุลผิวให้อยู่ในตัวเลขที่มีประสิทธิภาพในการดูแลผิวมากที่สุด คือ pH 5.5 ผ่านผลิตภัณฑ์ดูแลผิวลูกน้อย Baby sebamed pH 5.5 และหลีกเลี่ยงการโดนแดด หรืออากาศร้อน ๆ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้